เมนู

ส. หากว่า ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย
นอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ
มีอยู่ ดังนี้.
[1533] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลนั้น ประสบ
ความยินดีหรือความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เขาเพลิดเพลินบ่นถึง
หมกมุ่นเวทนานั้น ตั้งอยู่
ดังนี้1 เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจก็มีอยู่ น่ะสิ
อสาตราคกถา จบ

อรรถกถาอสาตราคกถา



ว่าด้วย ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ คือความยินดีใน
ทุกขเวทนา. ในเรื่องนั้น พระสูตรว่า บุคคล ... เสวยเวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เขาเพลิดเพลิน
บ่นถึง หมกมุ่นเวทนานั้น
ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถ
แห่งความเพลิดเพลินในสิ่งที่บุคคลประสบมาแล้ว.
ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า

1. ม.มู. 12/453.

ความยินดีเพลิดเพลินแม้ในทุกขเวทนา ด้วยอำนาจแห่งความชอบใจใน
ราคะ เพราะอาศัยคำในพระสูตรว่า บุคคลนั้นประสบความยินดียิ่ง
มีอยู่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจก็ต้องมีอยู่ ดังนี้
คำถามของสกวาทีว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ โดยหมายถึงชน
เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า
ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ ความว่า ปรวาทีตอบรับรองว่า ใช่ ด้วย
สามารถแห่งลัทธิ เพราะกิเลสเครื่องทำใจให้เศร้าหมองในข้อว่า โอหนอ
ความยินดีนั้นนั่นแหละพึงมีแก่เราในการเสวยทุกข์อันไม่ชอบใจ. คำที่เหลือ
ในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อนึ่ง ในพระสูตรว่า เขาเพลิดเพลินบ่นถึงหมกมุ่นเวทนานั้น
อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า ความเกิดขึ้นแห่งราคะย่อมหมุนกลับมาปรารภ
ทุกขเวทนานั่นแหละย่อมไม่มี แต่เมื่อถือเอาโดยส่วนรวมแล้ว บุคคลเมื่อ
พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมอันมีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ หรือซึ่ง
ทุกขเวทนานั่นเทียวโดยความเป็นอัตตา เขาย่อมยินดีเวทนานั้นด้วยความ
ยินดีต่อสิ่งที่ตนประสบแล้ว กล่าวคือในความรู้ต่อสิ่งที่ตนทราบแล้ว
มิใช่ยินดีในความเปลี่ยนแปลงมาเป็นทุกขเวทนา บุคคลผู้ถูกทุกขเวทนา
ครอบงำแล้วแม้ปรารถนาซึ่งกามสุขอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับทุกขเวทนา
นั้น ก็ชื่อว่า ย่อมยินดีต่อทุกขเวทนา. ความยินดีในทุกขเวทนาแห่งปัญหานี้
ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์
ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรกถาอสาตราคกถา จบ

ธัมมตัณหา อัพยากตาติกถา



[1534] สกวาที ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นวิบากอัพยากฤต เป็นกิริยาอัพยากฤต เป็นรูป
เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ
[1535] ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา รสตัณหา ฯลฯ โผฏ-
ฐัพพตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1536] ส. รูปตัณหาเป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธัมมตัณหาเป็นอกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัททตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธัมมตัณหาเป็นอกุศล หรือ ?